รู้จักโครงสร้างและหน้าที่ของผิวหนัง
ผิวหนังปกคลุมอยู่ทั่วร่างกายของเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการป้องกันอันตรายจากพวกแบคทีเรีย, ไวรัส อีกทั้งยังมีหน้าที่ช่วยควบคุมการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิ และรับความรู้สึก
โครงสร้างผิวหนัง
ผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis), ชั้นหนังแท้ (Dermis) และชั้นไขมัน (Subcutis) ในแต่ละชั้นจะแบ่งเป็นชั้นย่อยๆอีกหลายชั้น และมีต่อมต่างๆอีกมากมายเช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน เป็นต้น ซึ่งจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
ผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis), ชั้นหนังแท้ (Dermis) และชั้นไขมัน (Subcutis)
ผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
ชั้นหนังกำพร้า เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด ทำหน้าที่ช่วยปกป้องผิวเราจากสารพิษ, แบคทีเรีย และการสูญเสียน้ำ ชั้นหนังกำพร้านี้จะมีอีก 5 ชั้นย่อย ซึ่งจะมีส่วนในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (Keratinisation) ประกอบด้วย
1. Basal layer หรือ Stratum basale: เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด ที่ซึ่งเซลล์ keratinocyte ถูกผลิต และถือว่าเป็นชั้นที่เซลล์ยังมีชีวิต
2. Prickle layer หรือ Stratum spinosum: เซลล์Keratinocyte ในส่วนนี้จะผลิตโปรตีนที่เรียกว่า Keratin ซึ่งจะมีลักษณะเล็กเรียว
3. Granular layer หรือ Stratum granulosum: ชั้นนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (Keratinisation) เซลล์จะเริ่มมีลักษณะแข็ง และเริ่มเปลี่ยนเป็น Keratin และ lipids
4. Clear layer หรือ Stratum lucidium: เซลล์ในชั้นนี้จะอัดตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น และมีลักษณะแบนราบ ไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้
5. Horny layer หรือ Stratum corneum: มีลักษณะเป็นเซลล์แบนๆ เรียงกันขนานกับผิว เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งจะหลุดลอกออกเป็นขี้ไคล (Desquamation process)
ด้านบนสุดของผิวหนังคือชั้นที่เรียกว่า ฮอร์นี่เลเยอร์ (horny layer) เป็นที่ซึ่งมีแต่เซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการปกป้องผิว
เซลล์ใน horny layer จะถูกจับยึดกันไว้ด้วยไลปิด แบริเออร์ (lipids barriers) ซึ่งไลปิดเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน และมอยส์เจอไรเซอร์ให้ความชุ่มชื้น ถ้าผิวของเราขาดไลปิดก็จะทำให้ผิวแห้งหยาบ ลอกเป็นขุย
ชั้นหนังกำพร้าถูกปกคลุมด้วยน้ำและไลปิด ที่เรียกว่า Hydrolipid film ทำหน้าที่ช่วยทำให้ผิวอ่อนนุ่ม และปกป้องผิวจากแบคทีเรีย เชื้อราต่างๆ โดยปกติ hydrolipid film จะถูกรักษาไว้โดยต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน
ส่วนที่ประกอบเป็นน้ำของ hydrolipid film ประกอบด้วย
- กรดแลคติก (Lactic acid) และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด ที่ได้จากต่อมเหงื่อ
- กรดไขมัน (Free fatty acid) จากน้ำมัน (Sebum)
กรดอะมิโน เช่น pyrrolidine carboxylic acid และ สารให้ความชุ่มชื่นอื่นๆ (NMF) ซึ่งได้มาจากกระบวนการ Keratinisation
ภายในชั้นฮอร์นี่เลเยอร์ หรือเซลล์ผิวที่ตายแล้วนั้น จะถูกจับยึดไว้ด้วยไลปิด ซึ่งจะช่วยให้ผิวแลดูสุขภาพดี
การปกป้องผิวด้วยความเป็นกรดเหล่านี้ ทำให้ผิวมีค่าเป็นกรดอ่อนอยู่ pH 5.4-5.9 ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
- ช่วยปกป้องผิวจากแบคทีเรีย
- ช่วยในกระบวนการสร้างไลปิด แบริเออร์
- ช่วยกระตุ้นเอ็นไซม์ในการหลุดลอกของขี้ไคล
- ช่วยให้เซลล์ผิวเกิดการซ่อมแซมตัวเองได้เมื่อเซลล์เกิดความเสียหาย
ผิวชั้นหนังกำพร้านี้มีความหนาเพียง 0.1 มม. ซึ่งส่วนที่บอบบางที่สุดคือบริเวณรอบดวงตา (0.05 มม.) และหนาสุดคือบริเวณฝ่าเท้า (1-5 มม.)
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง เข้าใจความแตกต่างในแต่ละส่วนของร่างกาย และความแตกต่างระหว่างผิวผู้หญิงกับผู้ชาย
ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis)
ชั้นหนังแท้ เป็นชั้นที่ความหนา และมีความยืดหยุ่น ประกอบด้วย 2 ชั้นย่อยๆ ได้แก่
1. The lower layer (or stratum reticulare) : เป็นส่วนที่อยู่ลึกสุด และมีความหนา ซึ่งในชั้นนี้จะมีการผลิตของเหลวกั้นชั้นของไขมัน (Subcutis) ไว้อีกด้วย
2. The upper layer (or stratum papillare) : มีลักษณะของขอบเหมือนคลื่น กั้นระหว่างชั้นหนังกำพร้า
ชั้นหนังแท้นี้ประกอบด้วยชั้นที่มีความหนาอยู่เหนือชั้นไขมัน และชั้นมีลักษณะเหมือนคลื่นอยู่ใต้ชั้นผิวหนังกำพร้า
องค์ประกอบหลักที่พบในชั้นหนังแท้คือ คอลลาเจน และ อิลาสติน, เนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งให้ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น ช่วยให้ผิวมีสุภาพดี ดูอ่อนเยาว์ เส้นใยเหล่านี้จะถูกตรึงไว้ด้วยสารที่ลักษณะคล้ายเจล หรือสาร hyaluronic acid ซึ่งมีความสามารถในการจับน้ำได้ดี และช่วยรักษาปริมาตรของผิวเอาไว้อีกด้วย
กิจวัตรประจำวัน และปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มีผลต่อระดับคอลลาเจน อิลาสติน ขณะที่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น การผลิตคอลลาเจน อิลาสติน และความสามารถในการจับกับน้ำของไฮยาลูรอนก็ลดลง ผิวขาดความกระชับ ยืดหยุ่น เกิดริ้วรอย ชั้นหนังแท้นี้ยังเป็นที่อยู่ของ
1. ต่อมน้ำเหลือง
2. ประสาทรับความรู้สึก
3. รูรากขน/ผม
ชั้นหนังแท้ช่วยรองรับแรงกระแทก กักเก็บสารอาหาร ขับถ่ายของเสีย
ผิวหนังชั้นไขมัน (Subcutis)
ชั้นไขมัน จะอยู่ในสุดของชั้นผิวหนัง มักประกอบด้วย
- เซลล์ไขมัน (adipocytes & special collagen fibres)
- โปรตีนคอลลาเจน และหลอดเลือดต่างๆที่มาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำหน้าที่กักเก็บพลังงาน เป็นเหมือนเบาะกันกระแทกให้กับอวัยวะภายใน
จำนวนของเซลล์ไขมันที่อยู่ในชั้นไขมันจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นการกระจายตัวของไขมันยังมีความแตกต่งกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายอีกด้วย
ผิวหนังจะการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต อ่านเพิ่มเติมในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเมื่ออายุมากขึ้น
ภายในชั้นไขมันจะมีเซลล์ไขมัน และหลอดเลือดอยู่เป็นจำนวนมาก
หน้าที่ของผิวหนัง
ผิวหนังช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอก อีกทั้งยังแสดงถึงความมีสุขภาพดีอีกด้วย
ความเย็น,ร้อน, การระเหยของน้ำในผิว และรังสี: ผิวหนังชั้นนอกสุด (Horny layer) จะทำหน้าที่คอยปกป้องผิวเราจากปัจจัยต่างๆเหล่านี้และจำกัดการระเหยของน้ำออกจากผิว
โดยปกติผิวเราจะมีสารให้ความชุ่มชื่นตามธรรมชาติ (natural moisturising factors(NMFa)) ซึ่งมาจากน้ำมัน ภาวะความเป็นกรดอ่อนที่ผิว และยูเรีย ซึ่งเมื่อรวมกับน้ำในผิวก็จะทำให้ผิวมีความนุ่ม ชุ่มชื่น มีความกระชับยืดหยุ่น ถ้าสิ่งต่างๆที่กล่าวมาเกิดความบกพร่อง หรือลดลงต่ำกว่า 8-10% ก็จะทำให้ผิวแห้ง หยาบกร้าน อาจลอกเป็นขุยได้
เมื่อผิวต้องสัมผัสกับรังสียูวี จะมีการผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น ผิวมีความหนามากขึ้น และถ้ามีการสะสมของเม็ดสีเมลานินมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเกิดเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำได้ (Hyperpigmentation)
การปกป้องผิวจากปัจจัยต่างๆภายนอก
การป้องกันรังสียูวี
ความเย็น,ร้อน, การระเหยของน้ำในผิว และรังสี: ผิวหนังชั้นนอกสุด (Horny layer) จะทำหน้าที่คอยปกป้องผิวเราจากปัจจัยต่างๆเหล่านี้ และจำกัดการระเหยของน้ำออกจากผิว
โดยปกติผิวเราจะมีสารให้ความชุ่มชื่นตามธรรมชาติ (natural moisturising factors(NMFa)) ซึ่งมาจากน้ำมัน ภาวะความเป็นกรดอ่อนที่ผิว และยูเรีย ซึ่งเมื่อรวมกับน้ำในผิวก็จะทำให้ผิวมีความนุ่ม ชุ่มชื่น มีความกระชับยืดหยุ่น ถ้าสิ่งต่างๆที่กล่าวมาเกิดความบกพร่อง หรือลดลงต่ำกว่า 8-10% ก็จะทำให้ผิวแห้ง หยาบกร้าน อาจลอกเป็นขุยได้
เมื่อผิวต้องสัมผัสกับรังสียูวี จะมีการผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น ผิวมีความหนามากขึ้น และถ้ามีการสะสมของเม็ดสีเมลานินมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเกิดเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำได้ (Hyperpigmentation) อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง แสงแดดมีผลอย่างไรต่อผิวหนัง
แรงกดดัน แรงลม และการขีดข่วน: ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ที่อยู่ชั้นบนสุดยังคงทำหน้าที่ในการปกป้องจากสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้น และยังมีเซลล์ไขมันที่อยู่ในชั้นไขมัน ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นอีกด้วย เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อหรือเอ็น บริเวณกล้ามเนื้อไม่ให้เกิดการฉีดขาดได้ง่าย
สารเคมี: การที่ผิวหนังที่มีความเป็นกรดอ่อนๆนั้น จะช่วยป้องกันผิวจากสารประกอบเคมีที่มีลักษณะเป็นด่าง อ่านเพิ่มเติมในเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผิวหนัง
แบคทีเรีย และไวรัส: Horny layer ที่อยู่บนสุดของชั้นหนังกำพร้า มีหน้าที่คอยรักษาสมดุลของภาวะความเป็นกรดอ่อนที่ผิว ซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันอันตรายจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ถ้าเชื้อเหล่านี้สามารถผ่านเข้าไปในร่างกายได้ ร่างกายก็จะมีกลไกในการต่อต้านเชื้อเหล่านี้ดังนั้น Horny layer กับภาวะความเป็นกรดอ่อน จึงเป็นด่านแรกในการปกป้องผิวเรา
เกราะปกป้องผิว
การรับความรู้สึก
อุณหภูมิ
กระบวนการสร้างเซลล์ผิว
ผิวหนังมีหน้าที่ที่หลากหลาย อีกทั้งยังแสดงถึงความมีสุขภาพดีอีกด้วย
การควบคุมอูณหภูมิ: ผิวหนังจะขับเหงื่อออกมาเพื่อปรับให้ร่างกายเย็นขึ้น และจะส่งผลให้หลอดเลือดในชั้นหนังแท้ เกิดการหดตัวเพื่อสงวนความร้อนเอาไว้
การควบคุมความรู้สึก: เส้นประสาทที่อยู่ภายในชั้นผิวหนังจะทำหน้าที่รับความรู้สึกเจ็บปวด การสัมผัส แรงสั่นสะเทือน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เป็นต้น
กระบวนการฟื้นฟูผิว: ผิวหนังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้เมื่อเกิดบาดแผล
แหล่งอาหารให้กับเซลล์ผิว: เซลล์ไขมันในชั้นไขมันจะคอยเก็บรักษาพลังงานและสารอาหารไว้ เพื่อส่งมาเลี้ยงเซลล์ผิวโดยผ่านทางหลอดเลือด
ผิวหนังยังแสดงถึงการมีสุขภาพดี เช่นผิวหมอง ไม่สดใส แสดงถึงภาวะความเป็นโรค เมื่อผิวมีสุขภาพดี ปราศจากปัญหาก็จะทำให้เรามั่นใจมากขึ้น
เกิดอะไรขึ้นเมื่อผิวถูกทำร้าย
เมื่อเกราะปกป้องผิวถูกรบกวน
- จะทำให้เกิดการสูญเสียความชุ่มชื้น ผิวแห้ง ดูหยาบกร้าน ลอกเป็นขุยได้
- อาจทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่น ไม่กระชับ ส่งผลให้เกิดภาวะผิวแพ้ง่าย ไวต่อปัจจัยต่างๆเช่น แสงแดด อุณหภูมิ และติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
เมื่อผิวเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้เกิดกระบวนการอักเสบตามมา อาจพบอาการผิวแห้ง แดง คัน จนกลายเป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Atopic dermatitis) และหนังศรีษะคัน ซึ่งก็ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยต้องไปลดวงจรการอักเสบเหล่านี้ เช่นลดการคัน ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยเพิ่มเกราะปกป้องผิว
ผิวหนังมีหลายกระบวนในการฟื้นฟู และซ่อมแซมผิว ซึ่ง stratum basal จะมีบทบาทสำคัญเนื่องจากมีหน้าที่ในกระบวนการสร้างเซลล์ผิวใหม่ เช่น
- ถ้าเกิดบาดแผล หรือความเสียหายขึ้นที่ผิวหนังชั้นบนสุด จะสามารถซ่อมแซมผิวได้โดยไม่เกิดรอยแผลเป็น
- ถ้าเกิดบาดแผลหรือความเสียหายลึกถึงชั้นหนังแท้ เช่นมีภาวะแผลเปื่อย พุพอง แผลเรื้อรัง จะทำให้เกิดแผลเป็นขึ้นมาได้
กระบวนการหายของแผลเกิดขึ้นหลายขั้นตอน ดังนี้
- เมื่อเกิดบาดแผล เนื้อเยื่อมีการฉีดขาด จะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการของ platelet aggregation หรือการจับตัวของ platelet เป็นกลุ่มที่บาดแผลนั้น รวมไปถึงกระบวนการแข็งตัวของเลือด หรือ coagulation
- เกิดการตายของเซลล์และ เนื้อเยื่อรอบแผล ซึ่งก็จะถูกทำลายโดยเอ็นไซม์
- จากนั้นจะมีการหลั่งสารสำคัญหลายตัวซึ่งจะกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวมารวมตัวกันที่บาดแผลโดยมีหน้าที่ทำลายแบคทีเรีย และเซลล์ต่างๆที่ตายแล้ว
- หลังจากนั้นจะเกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ และการสร้างคอลลาเจน รวมไปถึงกระบวนการเสริมสร้างเซลล์ผิวใหม่ (epithelisation)
Information: https://pleasanteve-thunya.blogspot.com / https://www.siamhealth.net